วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

หนังสั้น...วังหลัง


                                                                         ย่านวังหลัง
      

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

แผนงานหนังสั้น :: ย้อนรอยวังหลัง

จุดประสงค์
              1.  เพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
              2.  ศึกษาถึงจุดประสงค์ของการใช้พื้นที่ของผู้คนที่เข้าไปใช้งาน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต และมีการสะท้อนออกมาผ่านการวางผังและภูมิสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างไร

รูปแบบของสื่อ
            การเล่าเรื่องจะมีการแทรกเรื่องราว และประวัติศาสตร์ของพื้นที่เข้าไป ผ่านตัวละครที่อยู่ภายนอกรั้วกำแพง ซึ่งมีการมองเห็นความเป็นมาเป็นไปของการใช้พื้นที่ พฤติกรรมของผู้ใช้พื้นที่ รวมทั้งการเปลี่ยนไปของพื้นที่มาโดยตลอด ตัวละครจะเป็นผู้ดำเนินเรื่อง และบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่ตนได้พบเจอในตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยจะรวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ภายในเนื้อเรื่องไว้ดังนี้
            ในสมัยกรุงรัตยโกสินทร์มีการแบ่งการปกครองภายในพระนครออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ
วังหลวง : มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
วังหน้า  : มีกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นประมุข และมีอำนาจรองจากพระมหากษัตริย์
วังหลัง  : มีกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขเป็นประมุข

            สองตำแน่งแรก คือวังหลวงและวังหน้านั้นเป็นที่รู้จักและคุ้นเคย เพราะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎพระบรมวงศสนุวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งวังหลังเพียงค์องค์เดียว ทำให้เรื่องราววังหลังค่อยๆ เลือนหายไป

            สมเด็กกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า ตำแหน่งวังหลังมีการสถาปนาครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยใช้รูปแบบการจัดวังที่ประทับเป็นชื่อแรก ให้วังหลวงรักษาพระนครทางเหนือ วังหน้ารักษาพระนครทางะวันออก และวังหลังรักษาทางตะวันตก ตำแน่งวังหลังมีการสถาปนาต่อมาอีกหลายพระองค์

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ด้ประกอบความดีความชอบในพระราชสงครามหลายครั้ง โดยเฉพาะสงครามเก้าทัพ จึงโปรดเกล้าให้สถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข และประทับ ณ พระราชวังหลังบริเวณตำบลลิ้นจี่ ฝั่งธนบุรี ปัจจุบันคือบริเวณโรงพยาบาลศิริราช และชุมชนแถบวัดระฆังโฆสิตาราม

ต่อมาพระกรมพระบวรสถานภิมุขทิวงคต ในปี พ.. 2349 นับแต่นั้นมาไม่มีการสถาปนาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขหรือวังหลังอีกเลยตราบจนปัจจุบัน

            วังหลังในปัจจุบัน แทบไม่เหลือเค้าความเป็นวังอยู่เลย ที่เหลืออยู่คงเป็นเพียงชื่อท่าวังหลัง เท่านั้นเอง เมื่อข้ามฟากมาถึงแล้ว บริเวณนี้จัดว่าเป็นแหล่งช้อปปิ้งอีกแหล่งของกรุงเทพฯ มีสินค้าต่างๆ ขายมากมาย โดยเฉพาะในวันพุธ ที่ตรอกวังหลังจะมีตลาดนัด คนชอบของมือสองไม่ควรพลาด รวมไปถึงของอาหารการกิน

            รอยอดีตที่มาชื่อวังหลัง  ประจักษ์พยานเหลือแค่กำแพงวัง  พระราชวังบวรสถานพิมุข  หรือ  "วังหลัง" องค์เดียวและองค์สุดท้ายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งสำคัญที่จะได้ครองราชย์เป็นลำดับที่ 3 ต่อจากกษัตริย์รองจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  หรือ "วังหน้า" รับหน้าที่กำลังสำคัญป้องกันพระนครทางฝั่งตะวันตก จากประวัติศาสตร์หน้าสุดท้ายตำแหน่งวังหลัง ที่นี่ยังเป็นจุดเริ่มต้นการสาธารณสุขแห่งแรกของไทย รพ.วังหลัง หรือ รพ.ศิริราช  ที่สร้างสมัยร.ในที่ของวัง ทั้งเป็นที่ตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกของไทย "กุลสตรีวังหลัง" อีกทั้งเป็นที่เกิดของกวีเอกบุคคลสำคัญของโลก "สุนทรภู่" ทั้งวัดระฆังโฆสิตารามฯ วัดเก่าแก่แต่สมัยอยุธยา เป็นที่รู้จักแต่อดีตถึงปัจจุบันด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์โต



สรุป : ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันเปลี่ยนจากสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์ กลายเป็นสถานที่เที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในอดีต ถึงแม้พฤติกรรมการใช้พื่นที่จะมีการเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ก็ยังคงอยู่ตราบจนปัจจุบัน