ย่านวังหลัง
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
แผนงานหนังสั้น :: ย้อนรอยวังหลัง
จุดประสงค์
1. เพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
2. ศึกษาถึงจุดประสงค์ของการใช้พื้นที่ของผู้คนที่เข้าไปใช้งาน
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต และมีการสะท้อนออกมาผ่านการวางผังและภูมิสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างไร
รูปแบบของสื่อ
การเล่าเรื่องจะมีการแทรกเรื่องราว
และประวัติศาสตร์ของพื้นที่เข้าไป ผ่านตัวละครที่อยู่ภายนอกรั้วกำแพง
ซึ่งมีการมองเห็นความเป็นมาเป็นไปของการใช้พื้นที่ พฤติกรรมของผู้ใช้พื้นที่
รวมทั้งการเปลี่ยนไปของพื้นที่มาโดยตลอด ตัวละครจะเป็นผู้ดำเนินเรื่อง
และบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่ตนได้พบเจอในตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยจะรวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ภายในเนื้อเรื่องไว้ดังนี้
ในสมัยกรุงรัตยโกสินทร์มีการแบ่งการปกครองภายในพระนครออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ
วังหลวง : มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
วังหน้า : มีกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นประมุข
และมีอำนาจรองจากพระมหากษัตริย์
วังหลัง : มีกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขเป็นประมุข
สองตำแน่งแรก
คือวังหลวงและวังหน้านั้นเป็นที่รู้จักและคุ้นเคย เพราะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ปรากฎพระบรมวงศสนุวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งวังหลังเพียงค์องค์เดียว
ทำให้เรื่องราววังหลังค่อยๆ เลือนหายไป
สมเด็กกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า
ตำแหน่งวังหลังมีการสถาปนาครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยใช้รูปแบบการจัดวังที่ประทับเป็นชื่อแรก
ให้วังหลวงรักษาพระนครทางเหนือ วังหน้ารักษาพระนครทางะวันออก และวังหลังรักษาทางตะวันตก
ตำแน่งวังหลังมีการสถาปนาต่อมาอีกหลายพระองค์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ได้ประกอบความดีความชอบในพระราชสงครามหลายครั้ง
โดยเฉพาะสงครามเก้าทัพ จึงโปรดเกล้าให้สถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข
และประทับ ณ พระราชวังหลังบริเวณตำบลลิ้นจี่ ฝั่งธนบุรี
ปัจจุบันคือบริเวณโรงพยาบาลศิริราช และชุมชนแถบวัดระฆังโฆสิตาราม
ต่อมาพระกรมพระบวรสถานภิมุขทิวงคต
ในปี พ.ศ. 2349 นับแต่นั้นมาไม่มีการสถาปนาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขหรือวังหลังอีกเลยตราบจนปัจจุบัน
วังหลังในปัจจุบัน
แทบไม่เหลือเค้าความเป็นวังอยู่เลย ที่เหลืออยู่คงเป็นเพียงชื่อท่า “วังหลัง” เท่านั้นเอง เมื่อข้ามฟากมาถึงแล้ว บริเวณนี้จัดว่าเป็นแหล่งช้อปปิ้งอีกแหล่งของกรุงเทพฯ
มีสินค้าต่างๆ ขายมากมาย โดยเฉพาะในวันพุธ ที่ตรอกวังหลังจะมีตลาดนัด คนชอบของมือสองไม่ควรพลาด
รวมไปถึงของอาหารการกิน
รอยอดีตที่มาชื่อวังหลัง ประจักษ์พยานเหลือแค่กำแพงวัง พระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ "วังหลัง" องค์เดียวและองค์สุดท้ายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งสำคัญที่จะได้ครองราชย์เป็นลำดับที่
3 ต่อจากกษัตริย์รองจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ "วังหน้า" รับหน้าที่กำลังสำคัญป้องกันพระนครทางฝั่งตะวันตก จากประวัติศาสตร์หน้าสุดท้ายตำแหน่งวังหลัง ที่นี่ยังเป็นจุดเริ่มต้นการสาธารณสุขแห่งแรกของไทย
รพ.วังหลัง หรือ รพ.ศิริราช ที่สร้างสมัยร.5
ในที่ของวัง ทั้งเป็นที่ตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกของไทย
"กุลสตรีวังหลัง" อีกทั้งเป็นที่เกิดของกวีเอกบุคคลสำคัญของโลก
"สุนทรภู่" ทั้งวัดระฆังโฆสิตารามฯ วัดเก่าแก่แต่สมัยอยุธยา เป็นที่รู้จักแต่อดีตถึงปัจจุบันด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์โต
สรุป
: ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันเปลี่ยนจากสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์
กลายเป็นสถานที่เที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในอดีต
ถึงแม้พฤติกรรมการใช้พื่นที่จะมีการเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตามความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ก็ยังคงอยู่ตราบจนปัจจุบัน
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
Rose Kennedy Greenway , Boston / USA
เมื่อการยกระดับทางหลวงถูกย้ายลงใต้ดิน เมืองบอสตันพบว่าตัวเองร่ำรวยในพื้นที่เมืองที่ดีที่สุด
ผู้นำชุมชนจึงยึดโอกาสทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างชีวิตให้กับคนในเมืองบอสตันโดยการให้มีสวนสาธารณะและสวนหย่อมเพิ่มเติม เพื่อเชื่อมต่อกับบางส่วนของที่เก่าแก่ที่สุด
มีความหลากหลายมากที่สุดและละแวกใกล้เคียงที่มีความน่าสนใจ การสร้าง greenway เป็นความพยายามร่วมกันของ
Massachusetts Turnpike Authority (MTA) เครือข่ายเมืองของแมสซาชูเซต เมืองบอสตันและกลุ่มประชาสังคมต่างๆ แสดงความสมดุลทางความงามของธรรมชาติและความสง่างามของแลนสเคปในศตวรรษที่
21
รูปแบบของงาน จุดเด่น แนวความคิดในการออกแบบ
The Rose Fitzgerald Kennedy Greenway มีความยาวประมาณ 1.5 ไมล์ (2.4 กม.) มันเป็นส่วนสุดท้ายของโครงการ Big Dig โดย greenway นี้ได้รับชื่ออันมีเกียรติของครอบครัวเคนเนดี และอุทิศให้แก่ปูชนียบุคคลคือ Rose Fitzgerald Kennedy เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 4
ตุลาคม 2008
ตลอดการวางแผนและการออกแบบของสวนที่คำนึงถึงการเปิดพื้นที่ เน้นความสำคัญของการออกแบบที่มีคุณภาพสูงและการใช้วัสดุ
ในที่สุดแนวคิดโดยรวมของการเปิดพื้นที่เชิงเส้น การขัดจังหวะโดยเฉพาะผืนที่มีการเปิดและปิดทางลาดสำหรับเส้นทางหลักด้านล่าง
ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการในการออกแบบ greenway
ภูมิทัศน์ที่หลากหลายที่สุดบน Greenway ที่ถูกติดตั้งโดยสมาคมพืชสวนแมสซาชูเซตที่มีการกำหนดที่จะสร้าง greenway garden โดยการออกแบบของ Halvorson designed
ด้วยความช่วยเหลือของอาสาสมัครและผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสวนรวมไปถึงการสนับสนุนของคนในท้องที่และผู้เข้าชม การติดตั้งต้นไม้ยี่สิบเอ็ด ไม้พุ่มเป็นร้อยๆพุ่มและไม้ยืนต้นมากกว่าสามพันต้น
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผลที่ได้เกินความคาดหวังที่มี การปรับปรุงสวนตามฤดูกาลก็ยังคงปลูกโดยอาสาสมัครเพื่อต้อนรับฤดูต่างๆใน
greenway garden ทำให้ greenway กลายเป็นอัญมณีของเมือง
บทบาทของโครงการต่อสภาพแวดล้อมของเมืองหรือต่อสภาพแวดล้อมของเมือง หรือ ต่อบริบทโดยรอบ ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ในระหว่างปีก่อนก่อสร้าง มีการวางแผนและออกแบบโครงการศิลปะสาธารณะ
ส่วนใหญ่ของข้อเสนอเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุน ด้วยความพยายามของชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบในเมือง
MTA งานศิลปะโดย May Sun เกี่ยวกับน้ำที่สวนในไชน่าทาวน์
น้ำพุหมอกแบบโต้ตอบที่ฮาร์เบอร์โดย Ross Miller และน้ำพุที่สร้างขึ้นสำหรับวงแหวนกลางสวนสาธารณะในเขตท่าเรือ
การออกแบบภูมิทัศน์ใน North End Parks, Wharf District Parks และพื้นที่ที่อยู่ใกล้ Dewey Square ประกอบด้วยการใช้พื้นที่กว้างเพื่อทุ่งหญ้าท้องถิ่นสำหรับการเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงและนก และใช้น้ำในการปลูกน้อยกว่าการปลูกในรูปแบบเดิมๆ ส่วนใหญ่ของพื้นที่เพาะปลูกของ greenway เป็น green roof และมีระบบระบายน้ำที่ปกป้องโครงสร้างอุโมงค์คอนกรีตด้านล่าง
ความสัมพันธ์ด้านสังคม :
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการลงทุนในชุมชน
2. ส่งเสริมความรู้สึกของผู้ใช้ให้เกิดความภาคภูมิใจในสินทรัพย์สาธารณะของตน
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ :
1. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโดยการพัฒนาการปลูกให้มีความยืดหยุ่นที่จำเป็นต้องใช้แรงงานและวัสดุน้อยลง
2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานวงจรชีวิตของโครงสร้างพื้นฐานของสวนสาธารณะ
3. การเพิ่มขึ้นของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ติดกัน
4. ลดค่าใช้จ่ายของน้ำและไฟฟ้า
ความสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม :
1. พื้นที่สาธารณะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆ
2. การสนับสนุน Boston Harbor ให้สะอาดขึ้นโดยการลดความพยายามในการปลดปล่อยของสารเคมีส่วนเกินจากการไหลบ่าสวนกรีนเวย์
3. ลดของแข็งที่ผ่านการทำปุ๋ยหมัก
4. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการบริหารจัดการน้ำ
เมื่อมีการสร้าง Rose Kennedy Greenway ทำให้มีการเชื่อมตอนเหนือของเมืองที่เคยถูกตัดขาด
เมื่อครั้งตอนที่ยังมีไฮเวย์เดิมอยู่ และเมื่อมีการสร้างขึ้นมาจึงทำให้เป็นเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมที่เคยเชื่อมต่อกันอยู่ให้กลับมาเชื่อมโยงกันอีกครั้ง
เกิดความต่อเนื่องระหว่างสถาปัตยกรรมภายในเมือง โดยมีภูมิสถาปัตยกรรมเป็นตัวเชื่อมต่อสถาปัตยกรรมทั้งสองฝาก เกิดเป็นพื้นที่สาธารณะตรงกลางที่สร้างพื้นที่สีเขียวและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในเมือง
อ้างอิง ::
The Rose
Fitzgerald Kennedy Greenway Conservancy, Horticulture sustainability, Available
from Internet, http://www.rosekennedygreenway.org/visit/horticulture/sustainability/, accessed 17
January 2012.
A Better
City (ABC), Land development: Rose Kennedy Greenway, Available from Internet,
http://www.abettercity.org/landdev/rosekennedy.html, accessed 17
January 2012.
Wikipedia
the free encyclopedia, Rose Kennedy Greenway, Available from Internet, http://en.wikipedia.org/wiki/Rose_Kennedy_Greenway/, accessed 17
January 2012.
ChonGae Canal / Soul , Korea
คลองชองเกชอน
(Cheonggyecheon) เป็นคลองโบราณในสมัยราชวงศ์โชซอน (Joseon) อายุกว่า 600
ปี
ความยาวประมาณ 5.84 กิโลเมตร ไหลผ่านย่านใจกลางกรุงโซล
เป็นคลองสายประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีที่สำคัญไม่แพ้แม่น้ำฮัน (Hangang
River) ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ แต่เดิมมีชื่อว่า แกชอน (Gaecheon)
แต่ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ชองเกชอน (Cheonggyecheon)
ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาหลังจากสงครามเกาหลี (Korean War) เกิดการอพยพครั้งใหญ่ ผู้คนจำนวนมากเข้ามาอาศัยในบริเวณลำคลอง
เกิดเป็นชุมชนแออัดริมคลอง คลองเต็มไปด้วยขยะและสิ่งปฏิกูล มีความพยายามที่จะล้างพื้นที่สลัม
และปรับปรุงสุขอนามัย จึงได้ปิดคลองตั้งแต่สะพานควางเกียว ไปถึงสะพานโอกันซูเกียว
และในช่วงปี ค.ศ. 1957-1977 เกาหลีใต้ได้เร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมองข้ามในเรื่องสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง
จากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด คลองถูกถมเพื่อขยายพื้นที่ถนน
และมีการสร้างทางหลวงยกระดับสูง 16 m เหนือคลอง ทำให้คลองที่ขาดการดูแล เริ่มตายไปจากชุมชนสองฝั่งคลองย่านใจกลางกรุงโซล
น้ำในคลองเน่าเสียยิ่งขึ้นจากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ทางยกระดับทำให้การไหลของน้ำไม่สะดวก
เกิดการตื่นเขิน
เป็นเวลากว่า 25
ปีที่กรุงโซลละเลยเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง
จนกระทั่งเกิดมลพิษ น้ำเน่าเสีย เกิดชุมชนแออัดตามใต้ทางด่วน
และก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา จนทำให้ประชาชนบางส่วนที่สนใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวให้มีการคืนชีวิตให้กับคลองชองเกชอน
อีกครั้ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 2002 นายลี มยองปาก (Lee
Myung-bak) ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการกรุงโซล ได้เสนอโครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอน โดยมีพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนต่อต้านจำนวนมาก
จนต้องมีการประชุมร่วมกันมากกว่า 2,000 ครั้ง แต่โครงการก็เริ่มขึ้นได้ด้วยดีในวันที่ 1
กรกฎาคม
ค.ศ. 2003โดยเริ่มทุบทางด่วน และรื้อถนนโดยรอบมากมาย จนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2005 ใช้งบประมาณกว่า
3,800 ล้านวอน หรือราวๆ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อฟื้นฟูคลองชองเกชอน และธรรมชาติสองฝั่งคลอง มีการขุดท่อผันน้ำจากแม่น้ำฮัน (Hangang River) เข้ามาที่ต้นคลอง มีสะพานกว่า 22 แห่ง
และทางเดินเลียบคลอง จนปัจจุบันคลองชองเกชอนได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากในกรุงโซล
ลักษณะสภาพพื้นที่ในปี 1950
ลักษณะสภาพพื้นที่ในปี 1970
รูปแบบของงาน จุดเด่น แนวความคิดในการออกแบบ
รูปแบบโครงการถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “คืนคลองให้กับเมือง” โดยคลองสาธารณะที่มีการผันน้ำจากแม่น้ำฮัน (Hangang River) มาหล่อเลี้ยงให้มีชีวิตชีวา ตลอดแนวมีการสร้างน้ำพุเป็นระยะๆ เพื่อให้น้ำไม่นิ่ง รวมถึงมีการสร้างน้ำตกเพื่อเป็นแนวกันน้ำและชะลอน้ำหน้าฝน และการออกแบบเพื่อรองรับฝน 100 ปี
ส่วนน้ำตกที่ต้นคลองมาจากการคงเหลือไว้ของทางหลวงยกระดับเดิม
ซึ่งบริเวณอื่นๆตามแนวคลองก็มีการปล่อยเสาตอม่อไว้เช่นกัน แสดงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนปรับปรุงหรือเพื่อไม่ให้ลืมสิ่งเก่าๆ
และสุดท้ายส่วนต่างๆของคลอง ก็ได้มีการประดับตกแต่งแนวคลองด้วยศิลปะตั้งแต่อดีต
ที่ผ่านการบูรณะ เพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกาหลีที่มีย้อนไปถึงสมัยโชซอน
(Joseon) ตามเส้นทางคลองก็มีจุดที่น่าสนใจดังนี้
จุดเริ่มของคลองชองเกชอนน้ำพุที่ประดับประดา
ไปด้วยไฟสามสี น้ำพุดอกไม้ไห และน้ำพุสองชั้น ที่ในแต่ละวันต้องปั้มน้ำ 65,000ตัน
ที่ก้นคลองสว่างเรือง ๆด้วยไฟอ่อน ช่วยสร้างบรรยากาศที่สงบ และเยือกเย็น
สะพานควังทงเกียวเคยเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดในเมือง
ถูกสร้างขึ้นในปีที่ 10 แห่งการครองราชย์ของกษัตริย์แทจง
(กษัตริย์คนที่ 3ของโชซอน)
ใช้เป็นถนนหลวงสำหรับเชื้อพระวงศ์และชนชั้นขุนนาง
สะพานนี้ได้อยู่ในโครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอน ซึ่งได้รับการบูรณะแล้ว
ยังถูกย้ายที่ตั้งให้ขึ้นไปทางต้นน้ำประมาณ 150 ม.จากที่ตำแหน่งเดิม
3.บันชาโด ภาพวาดขวบแห่ของกษัตริย์ชองโจ
บันชาโดเป็นภาพวาดบนกำแพงเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ประดับที่เขื่อนซ้ายของคลองชองเกชอนตรงช่วงระหว่างสะพานควางเกียว
บันชาโดที่เป็นของดั้งเดิมนั้นเป็นภาพวาดแสดงการเยี่ยมสุสานของพระราชบิดาและพระราชมารกาของกษัตริย์ชองโจ
เป็นเวลา 8 วันจากภาพดั้งเดิมนี้ได้ถูกนำมาวาดใหม่
บนกำแพงยาว 192 ม. ซึ่งมีข้าราชบริพาร 1,779 คน และม้าอีก 779 ตัว
ผู้ชมจะได้เห็นทุกรายละเอียดของแบบแผน เครื่องแต่งกายรูปแบบในสมัยนั้น
และขนาดของขบวนแห่
4.กำแพงวัฒนธรรม และกำแพงแซกดง (กำแพงสายรุ้ง)
กำแพงวัฒนธรรมตั้งอยู่ที่ต้นคลองใกล้กับประตูโอกันซูมุน
ประมาณครึ่งกำแพงในน้ำแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยห้าคนภายใต้แนวคิด “ทางสู่อนาคต”รวมไปถึงกำแพงแซกดงที่แสดงสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาหลี ซึ่งทำให้คลองชองเกชอนเป็นบริเวณที่จะได้ชื่นชมศิลปะ
ประตูโอกันซูมุนแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างประตูฮึนอินจิมุน
และประตูควางฮวามุน
ถูกสร้างขึ้นในช่วงการสร้างเมืองหลวงในสมัยต้นราชวงศ์โชซอนนักท่องเทียวจะได้เห็นภาพถ่ายของประตูระบายน้ำฟ้าช่องซึ่งมีน้ำไหลออกจากเมืองโดยตลอด
และแบบจำลองที่เป็นสัญลักษณ์ของประตู ถัดจากประตูระบายน้ำคือสะพานโอกันซูเกียว
ที่มีพระราชหัตถเลขาของกษัตริย์ยงโจจารึกอยู่ที่กินด้านล่างสะพาน
ซึ่งแสดงให้เห็นการทำงานขุดคลองของเหล่าข้าราชบริพาร
และมีโครงภาษาจีนสดุดีความสำเร็จของกษัตริย์เป็นตัวอักษรจีนพร้อมคำแปลภาษาเกาหลีอยู่ด้วย
6.บริเวณที่ใช้ซักผ้าในยุคโบราณ
ความสำคัญของพื้นที่บริเวณนี้คือ
ครั้งหนึ่งเป็นที่สำหรับให้ผู้หญิงมาซักผ้า
เป็นพื้นที่ระหว่างสะพานดาซานเกียวและสะพานยองโดเกียวแม่บ้านในกรุงโซลชอบที่จะมาซักผ้ากันที่นี่แม้แต่ในฤดูหนาว
เพราะว่าที่นี่มีแดดตลอด ปัจจุบันห้ามไม่ให้มีการซักผ้าที่คลองแล้ว
แต่ก็มีการจัดพื้นที่โดยนำแผ่นหินเอียงที่เคยใช้ซักผ้ามาจัดวาง
กำแพงแห่งความหวังตั้งอยู่ระหว่างมณฑลชองเกชอน
8-กา และ 9-กา
ดูสวยงานทั้งสองฝั่งของคลองเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเสียใจต่อการแบ่งแยกเกาหลีเหนือและใต้
ถูกสร้างจากแผ่นกระเบื้องโดยชาวกรุงโซล ชาวเกาหลีเหนือ และชาวเกาหลีในต่างแดน
รวมกว่า 20,000 คน
เพื่อเป็นความหวังของความเป็นปึกแผ่นที่จะรวมชาติกันอีกครั้ง ตัวกำแพงยาว 50 ม. ทั้งสองด้าน และสูง 2.2 ม. ถือเป็นกำแพงที่ทำจากกระเบื้องเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
8.กำแพงน้ำตกเป็นจังหวะ
กำแพงหินอ่อนสูง 5 ม. และยาว 20
ม. มีน้ำไหลตกลงมา พื้นผิวของกำแพงตกแต่งด้วยหินรูปวงรีสีดำ
ดูเหมือนปลากำลังวายทวนน้ำขึ้นไป
ในตอนกลางคืนกำแพงจะถูกเติมสีสันด้วยแสงไฟทำให้ดูเหมือนน้ำกำลังตกลงมาเป็นจังหวะดนตรี
กำแพงขนาดความสูง 5 ม. ยาว 50 ม. มีท่อพ่นน้ำจำนวน 42 ท่อ
พ่นน้ำออกมาเป็นรูปพาราโบล่าเหนือทางเดิน เกิดเป็นลักษณะของอุโมงค์น้ำ
ตอนกลางคืนมีแสงไฟหลากสีช่วยสร้างบรรยากาศที่ดูลึกลับ
10.ท่าเรือจนชิ
ระหว่างสะพานบิอูดังเกียวและสะพานมูฮักเกียว
มีท่าเรืออยู่สามแห่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกใช้สำหรับการเดินทางข้ามคลอง
ปัจจุบันกกลายเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงขอบเขตของคลองข้างทางสัญจร
และยังเป็นสัญลักษณ์ของโครงการบูรณะคลองซองเกซอนนี้
บทบาทของโครงการต่อสภาพแวดล้อมของเมืองหรือต่อสภาพแวดล้อมของเมือง หรือ ต่อบริบทโดยรอบ ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ความสัมพันธ์ด้านสังคม :
จากเดิมพื้นที่ตลอดแนวคลอง
เรียกว่าเป็นเส้นทางสัญจรที่คนเดินเท้าจะหลีกเลี่ยง แต่ในปัจจุบัน
เมื่อเกิดการปรับปรุงแล้ว กลับตรงกันข้ามคือ
เป็นพื้นที่ที่คนเดินเท้าต้องการจะมาเดิน กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนทั้งในและนอกประเทศ
และที่สำคัญต่อสังคมรวมถึงจิตใจผู้คนมากที่สุดน่าจะเป็นการนำคลองคืนสู่เมือง
ที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Dreams come true”
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ :
เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จก็ทำให้มูลค่าของที่ดินโดยรอบเพิ่มขึ้นสูงถึง
50% กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนรวยและสำนักงานของบริษัทชั้นนำ และการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่สนใจของผู้คนทั้งในและนอกประเทศ
ก็ทำให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศชาติดีขึ้นแน่นอน
ความสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม :
เป็นด้านที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงที่ชัดเจนที่สุดคือ ลดมลพิษจากฝุ่นควัน มลภาวะทางกลิ่น และเสียงที่ลดลง
ทั้งที่อยู่ใจกลางเมืองที่มีความพลุกพล่าน แต่เมื่อลงไปเดินริมคลองจะเงียบสงบ
และทางอ้อมคือเป็น ”ปอด” ให้กับเมือง นอกจากนี้ยังมีผลในการช่วยลดพลังงานทางอ้อม
คือ ผู้คนที่ใช้ทางเดินริมคลองเป็นทางสัญจร สามารถใช้เดินไปสู่ย่านธุรกิจ
หรือย่านซื้อขายต่างๆได้ ซึ่งในปกติแล้วระยะทางนั้นค่อนข้างไกล
แต่ถ้าได้เดินชมธรรมชาติไปด้วย ก็จะทำให้ความรู้สึกไกลและความเหนื่อยลดลงไปได้มาก
ความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม
การปรับปรุงคลองนี้ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ
อย่างที่บอกไปข้างต้น ทำให้มูลค่าที่ดินสูงขึ้น
ดังนั้นจึงมีผลแน่นอนต่อสถาปัตยกรรมตลอดแนวคลอง การสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ๆน่าจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยสูงสุดซึ่งก็แปรผันไปตามมูลค่าที่ดิน
ทำให้กลายเป็นสถานที่ที่ถูกยกระดับขึ้น ถ้าเป็นอาคารเดิมก็ถูกปรับปรุงให้ดูดีขึ้น แต่โดยปัจจัยหลักแล้ว
สิ่งที่ทำให้สถาปัตยกรรมดูดีขึ้น ก็ด้วยการที่มีการจัดการด้านภูมิสถาปัตยกรรมที่ดี
และคลองชองเกชอนยังทำหน้าที่เชื่อมฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของกรุงโซลเข้าด้วยกัน
-------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง ::
wikipedia. 3 ธันวาคม 2554. http://en.wikipedia.org/wiki/Cheonggyecheon (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
พันธุ์เมธ ณ ระนอง. marketatnation. 5 มีนาคม 2551. http://www.marketatnation.com/Travel/detail.aspx?NewsID=214&SectionName=%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C&SectionID=2 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
360cities. 11 ตุลาคม 2551. http://www.360cities.net/image/cheonggyechon-1950-seoul-korea#299.90,12.90,107.0 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Aom. seoulciety. 22 พฤษภาคม 2552. http://www.seoulciety.com/index.php?topic=60.0 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
groof. babyfancy. 31 มีนาคม 2553. http://www.babyfancy.com/printer_friendly_posts.asp?TID=60588 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Jidapa Travel. jidapaenter. http://www.jidapaenter.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Joe Linton. wordpress. 24 เมษายน 2552. http://lacreekfreak.wordpress.com/2009/04/24/daylighting-in-the-heart-of-seoul-the-cheong-gye-cheon-project/ (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
oshhisham. wordpress. 5 มีนาคม 2553. http://kualalumpurian.wordpress.com/2010/03/05/cheonggyecheon-during-its-old-days/ (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
thepowermancity. pantip. 3 กรกฎาคม 2552. http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/07/X8041353/X8041353.html (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Thomas. prkorea. http://www.prkorea.com/thailand/thai_guide1.htm (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
นายตะเกียง. oknation. 5 ตุลาคม 2550. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=129389 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
พี่ก๊วย. oknation. 24 กุมภาพันธ์ 2553.
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=563055 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)