วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ChonGae Canal / Soul , Korea


 คลองชองเกชอน (Cheonggyecheon) เป็นคลองโบราณในสมัยราชวงศ์โชซอน (Joseon) อายุกว่า 600 ปี ความยาวประมาณ 5.84 กิโลเมตร ไหลผ่านย่านใจกลางกรุงโซล เป็นคลองสายประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีที่สำคัญไม่แพ้แม่น้ำฮัน (Hangang River) ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ แต่เดิมมีชื่อว่า แกชอน (Gaecheon) แต่ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ชองเกชอน (Cheonggyecheon) ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาหลังจากสงครามเกาหลี (Korean War) เกิดการอพยพครั้งใหญ่ ผู้คนจำนวนมากเข้ามาอาศัยในบริเวณลำคลอง เกิดเป็นชุมชนแออัดริมคลอง คลองเต็มไปด้วยขยะและสิ่งปฏิกูล มีความพยายามที่จะล้างพื้นที่สลัม และปรับปรุงสุขอนามัย จึงได้ปิดคลองตั้งแต่สะพานควางเกียว ไปถึงสะพานโอกันซูเกียว และในช่วงปี ค.ศ. 1957-1977 เกาหลีใต้ได้เร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมองข้ามในเรื่องสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง จากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด คลองถูกถมเพื่อขยายพื้นที่ถนน และมีการสร้างทางหลวงยกระดับสูง 16 m เหนือคลอง ทำให้คลองที่ขาดการดูแล เริ่มตายไปจากชุมชนสองฝั่งคลองย่านใจกลางกรุงโซล น้ำในคลองเน่าเสียยิ่งขึ้นจากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ทางยกระดับทำให้การไหลของน้ำไม่สะดวก เกิดการตื่นเขิน
เป็นเวลากว่า 25 ปีที่กรุงโซลละเลยเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง จนกระทั่งเกิดมลพิษ น้ำเน่าเสีย เกิดชุมชนแออัดตามใต้ทางด่วน และก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา จนทำให้ประชาชนบางส่วนที่สนใจเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวให้มีการคืนชีวิตให้กับคลองชองเกชอน อีกครั้ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 2002 นายลี มยองปาก (Lee Myung-bak) ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการกรุงโซล ได้เสนอโครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอน โดยมีพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนต่อต้านจำนวนมาก จนต้องมีการประชุมร่วมกันมากกว่า 2,000 ครั้ง แต่โครงการก็เริ่มขึ้นได้ด้วยดีในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2003โดยเริ่มทุบทางด่วน และรื้อถนนโดยรอบมากมาย จนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2005 ใช้งบประมาณกว่า 3,800 ล้านวอน หรือราวๆ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อฟื้นฟูคลองชองเกชอน และธรรมชาติสองฝั่งคลอง มีการขุดท่อผันน้ำจากแม่น้ำฮัน (Hangang River)  เข้ามาที่ต้นคลอง มีสะพานกว่า 22 แห่ง และทางเดินเลียบคลอง จนปัจจุบันคลองชองเกชอนได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากในกรุงโซล

ลักษณะสภาพพื้นที่ในปี 1950



           ลักษณะสภาพพื้นที่ในปี 1970


รูปแบบการใช้งานพื้นที่



รูปแบบของงาน จุดเด่น แนวความคิดในการออกแบบ

รูปแบบโครงการถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “คืนคลองให้กับเมือง” โดยคลองสาธารณะที่มีการผันน้ำจากแม่น้ำฮัน (Hangang River) มาหล่อเลี้ยงให้มีชีวิตชีวา ตลอดแนวมีการสร้างน้ำพุเป็นระยะๆ เพื่อให้น้ำไม่นิ่ง รวมถึงมีการสร้างน้ำตกเพื่อเป็นแนวกันน้ำและชะลอน้ำหน้าฝน และการออกแบบเพื่อรองรับฝน 100 ปี 


ส่วนน้ำตกที่ต้นคลองมาจากการคงเหลือไว้ของทางหลวงยกระดับเดิม ซึ่งบริเวณอื่นๆตามแนวคลองก็มีการปล่อยเสาตอม่อไว้เช่นกัน แสดงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนปรับปรุงหรือเพื่อไม่ให้ลืมสิ่งเก่าๆ และสุดท้ายส่วนต่างๆของคลอง ก็ได้มีการประดับตกแต่งแนวคลองด้วยศิลปะตั้งแต่อดีต ที่ผ่านการบูรณะ เพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกาหลีที่มีย้อนไปถึงสมัยโชซอน (Joseon) ตามเส้นทางคลองก็มีจุดที่น่าสนใจดังนี้



1.ชองเก พลาซ่า
จุดเริ่มของคลองชองเกชอนน้ำพุที่ประดับประดา ไปด้วยไฟสามสี น้ำพุดอกไม้ไห และน้ำพุสองชั้น ที่ในแต่ละวันต้องปั้มน้ำ 65,000ตัน ที่ก้นคลองสว่างเรือง ๆด้วยไฟอ่อน ช่วยสร้างบรรยากาศที่สงบ และเยือกเย็น



2.สะพานควังทงเกียว
สะพานควังทงเกียวเคยเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดในเมือง ถูกสร้างขึ้นในปีที่ 10  แห่งการครองราชย์ของกษัตริย์แทจง (กษัตริย์คนที่ 3ของโชซอน) ใช้เป็นถนนหลวงสำหรับเชื้อพระวงศ์และชนชั้นขุนนาง สะพานนี้ได้อยู่ในโครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอน ซึ่งได้รับการบูรณะแล้ว ยังถูกย้ายที่ตั้งให้ขึ้นไปทางต้นน้ำประมาณ 150 ม.จากที่ตำแหน่งเดิม



3.บันชาโด ภาพวาดขวบแห่ของกษัตริย์ชองโจ
 บันชาโดเป็นภาพวาดบนกำแพงเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประดับที่เขื่อนซ้ายของคลองชองเกชอนตรงช่วงระหว่างสะพานควางเกียว บันชาโดที่เป็นของดั้งเดิมนั้นเป็นภาพวาดแสดงการเยี่ยมสุสานของพระราชบิดาและพระราชมารกาของกษัตริย์ชองโจ เป็นเวลา 8 วันจากภาพดั้งเดิมนี้ได้ถูกนำมาวาดใหม่ บนกำแพงยาว 192 ม. ซึ่งมีข้าราชบริพาร 1,779 คน และม้าอีก 779 ตัว ผู้ชมจะได้เห็นทุกรายละเอียดของแบบแผน เครื่องแต่งกายรูปแบบในสมัยนั้น และขนาดของขบวนแห่


4.กำแพงวัฒนธรรม และกำแพงแซกดง (กำแพงสายรุ้ง)
กำแพงวัฒนธรรมตั้งอยู่ที่ต้นคลองใกล้กับประตูโอกันซูมุน ประมาณครึ่งกำแพงในน้ำแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยห้าคนภายใต้แนวคิด ทางสู่อนาคตรวมไปถึงกำแพงแซกดงที่แสดงสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาหลี ซึ่งทำให้คลองชองเกชอนเป็นบริเวณที่จะได้ชื่นชมศิลปะ

5.สถานที่ตั้งประตูโอกันซูมุน
ประตูโอกันซูมุนแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างประตูฮึนอินจิมุน และประตูควางฮวามุน ถูกสร้างขึ้นในช่วงการสร้างเมืองหลวงในสมัยต้นราชวงศ์โชซอนนักท่องเทียวจะได้เห็นภาพถ่ายของประตูระบายน้ำฟ้าช่องซึ่งมีน้ำไหลออกจากเมืองโดยตลอด และแบบจำลองที่เป็นสัญลักษณ์ของประตู ถัดจากประตูระบายน้ำคือสะพานโอกันซูเกียว ที่มีพระราชหัตถเลขาของกษัตริย์ยงโจจารึกอยู่ที่กินด้านล่างสะพาน ซึ่งแสดงให้เห็นการทำงานขุดคลองของเหล่าข้าราชบริพาร และมีโครงภาษาจีนสดุดีความสำเร็จของกษัตริย์เป็นตัวอักษรจีนพร้อมคำแปลภาษาเกาหลีอยู่ด้วย



6.บริเวณที่ใช้ซักผ้าในยุคโบราณ
ความสำคัญของพื้นที่บริเวณนี้คือ ครั้งหนึ่งเป็นที่สำหรับให้ผู้หญิงมาซักผ้า เป็นพื้นที่ระหว่างสะพานดาซานเกียวและสะพานยองโดเกียวแม่บ้านในกรุงโซลชอบที่จะมาซักผ้ากันที่นี่แม้แต่ในฤดูหนาว เพราะว่าที่นี่มีแดดตลอด ปัจจุบันห้ามไม่ให้มีการซักผ้าที่คลองแล้ว แต่ก็มีการจัดพื้นที่โดยนำแผ่นหินเอียงที่เคยใช้ซักผ้ามาจัดวาง

 7.กำแพงแห่งความหวัง
กำแพงแห่งความหวังตั้งอยู่ระหว่างมณฑลชองเกชอน 8-กา และ 9-กา ดูสวยงานทั้งสองฝั่งของคลองเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเสียใจต่อการแบ่งแยกเกาหลีเหนือและใต้ ถูกสร้างจากแผ่นกระเบื้องโดยชาวกรุงโซล ชาวเกาหลีเหนือ และชาวเกาหลีในต่างแดน รวมกว่า 20,000 คน เพื่อเป็นความหวังของความเป็นปึกแผ่นที่จะรวมชาติกันอีกครั้ง  ตัวกำแพงยาว 50 ม. ทั้งสองด้าน และสูง 2.2 ม. ถือเป็นกำแพงที่ทำจากกระเบื้องเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก




8.กำแพงน้ำตกเป็นจังหวะ
กำแพงหินอ่อนสูง 5 ม. และยาว 20 ม. มีน้ำไหลตกลงมา พื้นผิวของกำแพงตกแต่งด้วยหินรูปวงรีสีดำ ดูเหมือนปลากำลังวายทวนน้ำขึ้นไป ในตอนกลางคืนกำแพงจะถูกเติมสีสันด้วยแสงไฟทำให้ดูเหมือนน้ำกำลังตกลงมาเป็นจังหวะดนตรี



9.น้ำพุอุโมงค์
กำแพงขนาดความสูง 5 ม. ยาว 50 ม.  มีท่อพ่นน้ำจำนวน 42 ท่อ พ่นน้ำออกมาเป็นรูปพาราโบล่าเหนือทางเดิน เกิดเป็นลักษณะของอุโมงค์น้ำ ตอนกลางคืนมีแสงไฟหลากสีช่วยสร้างบรรยากาศที่ดูลึกลับ


10.ท่าเรือจนชิ
ระหว่างสะพานบิอูดังเกียวและสะพานมูฮักเกียว มีท่าเรืออยู่สามแห่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกใช้สำหรับการเดินทางข้ามคลอง ปัจจุบันกกลายเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงขอบเขตของคลองข้างทางสัญจร และยังเป็นสัญลักษณ์ของโครงการบูรณะคลองซองเกซอนนี้



บทบาทของโครงการต่อสภาพแวดล้อมของเมืองหรือต่อสภาพแวดล้อมของเมือง  หรือ ต่อบริบทโดยรอบ ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

ความสัมพันธ์ด้านสังคม :

                        จากเดิมพื้นที่ตลอดแนวคลอง เรียกว่าเป็นเส้นทางสัญจรที่คนเดินเท้าจะหลีกเลี่ยง แต่ในปัจจุบัน เมื่อเกิดการปรับปรุงแล้ว กลับตรงกันข้ามคือ เป็นพื้นที่ที่คนเดินเท้าต้องการจะมาเดิน กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนทั้งในและนอกประเทศ และที่สำคัญต่อสังคมรวมถึงจิตใจผู้คนมากที่สุดน่าจะเป็นการนำคลองคืนสู่เมือง ที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Dreams come true”

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ :

                          เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จก็ทำให้มูลค่าของที่ดินโดยรอบเพิ่มขึ้นสูงถึง 50% กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนรวยและสำนักงานของบริษัทชั้นนำ และการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่สนใจของผู้คนทั้งในและนอกประเทศ ก็ทำให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศชาติดีขึ้นแน่นอน


ความสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม :     

                         เป็นด้านที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงที่ชัดเจนที่สุดคือ ลดมลพิษจากฝุ่นควัน มลภาวะทางกลิ่น และเสียงที่ลดลง ทั้งที่อยู่ใจกลางเมืองที่มีความพลุกพล่าน แต่เมื่อลงไปเดินริมคลองจะเงียบสงบ และทางอ้อมคือเป็น ”ปอด” ให้กับเมือง นอกจากนี้ยังมีผลในการช่วยลดพลังงานทางอ้อม คือ ผู้คนที่ใช้ทางเดินริมคลองเป็นทางสัญจร สามารถใช้เดินไปสู่ย่านธุรกิจ หรือย่านซื้อขายต่างๆได้ ซึ่งในปกติแล้วระยะทางนั้นค่อนข้างไกล แต่ถ้าได้เดินชมธรรมชาติไปด้วย ก็จะทำให้ความรู้สึกไกลและความเหนื่อยลดลงไปได้มาก





ความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม
            การปรับปรุงคลองนี้ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ อย่างที่บอกไปข้างต้น ทำให้มูลค่าที่ดินสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีผลแน่นอนต่อสถาปัตยกรรมตลอดแนวคลอง การสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ๆน่าจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยสูงสุดซึ่งก็แปรผันไปตามมูลค่าที่ดิน ทำให้กลายเป็นสถานที่ที่ถูกยกระดับขึ้น ถ้าเป็นอาคารเดิมก็ถูกปรับปรุงให้ดูดีขึ้น แต่โดยปัจจัยหลักแล้ว สิ่งที่ทำให้สถาปัตยกรรมดูดีขึ้น ก็ด้วยการที่มีการจัดการด้านภูมิสถาปัตยกรรมที่ดี  และคลองชองเกชอนยังทำหน้าที่เชื่อมฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของกรุงโซลเข้าด้วยกัน




-------------------------------------------------------------------------------


อ้างอิง ::

wikipedia. 3 ธันวาคม 2554. http://en.wikipedia.org/wiki/Cheonggyecheon (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
พันธุ์เมธ ณ ระนอง. marketatnation. 5 มีนาคม 2551. http://www.marketatnation.com/Travel/detail.aspx?NewsID=214&SectionName=%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C&SectionID=2 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
360cities. 11 ตุลาคม 2551. http://www.360cities.net/image/cheonggyechon-1950-seoul-korea#299.90,12.90,107.0 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Aom. seoulciety. 22 พฤษภาคม 2552. http://www.seoulciety.com/index.php?topic=60.0 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
groof. babyfancy. 31 มีนาคม 2553. http://www.babyfancy.com/printer_friendly_posts.asp?TID=60588 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Jidapa Travel. jidapaenter. http://www.jidapaenter.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Joe Linton. wordpress. 24 เมษายน 2552. http://lacreekfreak.wordpress.com/2009/04/24/daylighting-in-the-heart-of-seoul-the-cheong-gye-cheon-project/ (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
oshhisham. wordpress. 5 มีนาคม 2553. http://kualalumpurian.wordpress.com/2010/03/05/cheonggyecheon-during-its-old-days/ (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
thepowermancity. pantip. 3 กรกฎาคม 2552. http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/07/X8041353/X8041353.html (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
Thomas. prkorea. http://www.prkorea.com/thailand/thai_guide1.htm (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
นายตะเกียง. oknation. 5 ตุลาคม 2550. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=129389 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).
พี่ก๊วย. oknation. 24 กุมภาพันธ์ 2553. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=563055 (17 มกราคม 2555 ที่เข้าถึง).




1 ความคิดเห็น: